“ดอยน้ำซับ” มรดกทางภูมิปัญญา ในการดูแลสุขภาพ ด้วยความรู้จากบรรพบุรุษไทย
“ Doi Num Sub “ The Art and Heritage of Thai folk wisdom
A Simple Thing is Definitely Perfect
“สิ่งที่ธรรมดาและความเรียบง่าย คือสิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด”
ความเป็นมาของโครงการดอยน้ำซับ
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 คณะทำงานกองทุนเพื่อสังคม (Social Investment Fund) หรือ SIF ในนามของสมาคมพัฒนาสังคม ของสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (Nationnal Institute administration = NIDA) ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่สมาชิก สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท (สพช)ของ ธนาคารออมสิน เพื่อสำรวจความอ่อนแอของชุมชนและได้เห็นจุดอ่อนต่างๆ ของหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน จึงได้ตั้งโครงการ “ดอยน้ำซับ” ขึ้น เพื่อเป็นส่วนเสริมข้ออ่อนของสมาชิกเกษตรกร ให้เข้มแข็งขึ้น โดยการนำสิ่งที่มีอยู่แล้ว ในชนบทและใช้ประโยชน์กันอยู่ในวงจำกัด ออกเผยแพร่สู่สังคมเมือง เริ่มจากการนำเอาความรู้ดั้งเดิมเหล่านี้มาพัฒนา โดยอาศัยหลักวิชาการ และปรับกระบวนการผลิตให้เข้ากับยุคสมัย ทั้งยังต้องสนองความต้องการในปริมาณที่เพิ่มขึ้นในเชิงพานิชย์ เพื่อเป็นสินค้าส่งออกภายใต้ชื่อ “โครงการสมุนไพรเพื่อสุขภาพดอยน้ำซับ”
ดอยน้ำซับจึงหมายถึงการนาเอาสมุนไพรจากธรรมชาติมาใช้อย่างถูกวิธีและยั่งยืนเหมือนน้ำซึมซับจากพื้นดิน และไหลมารวมกันทีละเล็กทีละน้อย เป็นธารน้ำที่ใหญ่ขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกพืชสมุนไพร ให้เกิดเครือข่ายมากที่สุด โดยมีจุดศูนย์กลางการทำตลาดอยู่ที่กรุงเทพฯ สินค้าของโครงการ ส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ นับเป็นผู้ส่งออกสมุนไพรที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ลูกประคบสมุนไพรเป็นสินค้าตัวแรกที่ผลิตขึ้น ผู้ริเริ่มต้องการให้ชาวบ้านได้ปลูกและขายสมุนไพรให้ได้มากที่สุด เนื่องจากลูกประคบมีส่วนผสมของสมุนไพรอยู่หลายชนิด จึงสนับสนุนให้ปลูก สินค้าต่อมาคือ สมุนไพรอบตัว สาหรับบุคคลทั่วไป และสมุนไพรสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตร นอกจากสมุนไพรที่เป็นสินค้าแล้ว ยังมีกระโจมอบสมุนไพรซึ่งทำจากผ้าทอของชาวบ้าน เป็นแบบที่ใช้ในวิถีชีวิตของคนไทย โดยทั่วไปที่ใช้งานกันอยู่แล้ว ปัจจุบันสินค้าของดอยน้ำซับ ได้พัฒนาให้มีหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ในปัจจุบัน
จาก OTOP กลุ่มเล็กๆ ที่รวมตัวกันเพื่อสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพให้กับผู้บริโภค เน้นความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดความมั่นคงของชุมชนที่เป็นต้นน้ำและนำรายได้เข้าสู่ประเทศด้วยมาตรฐาน GMP
ด้านจรรยาบรรณ
ในภาวะสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงมาก ทำให้นักธุรกิจต่างคิดกลยุทธ์การตลาดหลากหลายเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งเพื่อให้ธุรกิจของตนอยู่รอด ในบางครั้ง จึงไม่ได้คำนึงถึงจรรยาบรรณ ผู้ประกอบธุรกิจ หรือนักธุรกิจจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้เกิดกิจกรรมร่วมกันของคนในสังคม โดยมีนักธุรกิจเป็นกลไกในการเชื่อมโยง ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและศรัทธาในวิชาชีพของตน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนร่วมอาชีพ อันส่งผลให้เกิดการยอมรับจากคนทั่วไปในสังคม และสามารถทำให้ธุรกิจดำรงอยู่ได้และเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งจรรยาบรรณของธุรกิจคือ หลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจยึดเป็นแนวทางการประพฤติในการดำเนินอาชีพ โดยกำหนดตามบทบาทหลักดังนี้
จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อลูกค้า
- ลูกค้า คือ กลุ่มบุคคลผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทำให้ธุรกิจมีรายได้ มีกำไร สามารถดำรงธุรกิจเจริญก้าวหน้า จึงควรมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจต่อลูกค้า คือ ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ด้วยความซื่อสัตย์ เช่น กำหนดราคาสินค้าบริการด้วยความยุติธรรมเหมาะสมกับคุณภาพและปริมาณ
- มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการเอาใจใส่ลูกค้าทุกคน เปิดโอกาสให้ลูกค้าทุกคนซื้อสินค้าและบริการในทุกสภาวะเศรษฐกิจ
- ไม่สร้างเงื่อนไขให้ลูกค้ากระทำตาม บีบบังคับควบคุมการตัดสินใจของลูกค้า ไม่กระทำการใด ๆ เพื่อทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นโดยไม่มีเหตุผล ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีอัธยาศัยไมตรีอันดี
จรรยาบรรณต่อผลิตภัณฑ์
คือ สิ่งที่เสนอขายเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคซึ่งผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการควบคุมการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจควรมีจรรยาบรรณต่อผลิตภัณฑ์ดังนี้
- 1. ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ สามารถใช้งานได้เหมาะสม มีความสวยงาม มีราคาคุ้มค่า สามารถตอบสนองความต้องการและเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้บริโภค
- 2. ผลิตสินค้าและบริการได้มาตรฐานอุตสาหกรรม โดยมีการรับรองกรรมวิธีการผลิตตามระบบที่แสดงถึงความปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐานระบบคุณภาพ (ISO) เป็นต้น
- 3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตของผลิตภัณฑ์อย่างสมํ่าเสมอ
- 4. ผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยระบุวันผลิตและวันหมดอายุ ที่ตั้งผลิตภัณฑ์ไว้อย่างชัดเจน
- 5. เปิดเผยความเสี่ยงทุกประเภทที่เกี่ยวข้องหรือเนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์ เช่น ยาฆ่าแมลง มีข้อความระบุว่า “ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก” หรือนมข้นหวาน ระบุข้อความว่า “ห้ามใช้เลี้ยงทารก” เป็นต้น
- 6. เปิดเผยถึงส่วนผสมของผลิตภัณฑ์
- 7. ไม่ตั้งชื่อและออกแบบผลิตภัณฑ์รวมทั้งบรรจุภัณฑ์เลียนแบบผู้อื่น
- 8. ผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมต้องมีการควบคุมคุณภาพทั้งระบบครบวงจร
จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อคู่แข่งขัน คู่แข่งขัน(Competitor) คือ ผู้ที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันซึ่งต้องมีการแข่งขัน บางครั้งต้องมีการพึ่งพาอาศัยกัน การแข่งขันต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง จึงควรมีจรรยาบรรณต่อคู่แข่งขันดังนี้ ไม่กลั่นแกล้งหรือให้ร้ายทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม หรือทำการข่มขู่และกีดกันทางการค้า การให้ความร่วมมือในการแข่งขันเพื่อสร้างภาวะตลาดที่ดี เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า การร่วมมือในการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิตามกฎหมายของคู่แข่งขันเช่น ละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรเป็นต้น ไม่จารกรรมความลับทางธุรกิจของคู่แข่งขัน
จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อหน่วยราชการ หน่วยราชการ เป็นสถาบันหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการติดต่อกับหน่วยงานอย่างสมํ่าเสมอ นอกจากนี้การประกอบธุรกิจยังอยู่ในการควบคุมดูแลของหน่วยราชการอีกด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรมีจรรยาบรรณต่อส่วนราชการดังนี้
1.ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฏหมายในการประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ เช่น จัดทำบัญชีและเสียภาษีถูกต้องสามารถตรวจสอบได้ และไม่เปิดโอกาสให้ข้าราชการประพฤติมิชอบในธุรกิจของตน
2.ไม่ให้สินบนเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ
3.ไม่ให้ความร่วมมือสนับสนุนข้าราชการในการกระทำที่ส่อทางทุจริต ไม่ให้ของขวัญหรือของกำนัลแก่ข้าราชการเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ ทำธุรกิจกับส่วนราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรม มีความเป็นมิตรไมตรีให้ความร่วมมือกับส่วนราชการในการทำหน้าที่พลเมืองที่ดี โดยการสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ตามความเหมาะสม สนับสนุนด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและชุมชน
4.มีทัศนคติที่ดีและเชื่อมั่นต่อส่วนราชการ ให้ความร่วมมือกับส่วนราชการ
จรรยาบรรณของพนักงานต่อผู้ประกอบธุรกิจ พนักงานต้องมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพต่อผู้ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกัน ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายต่างปฏิบัติต่อกันด้วยการมีจรรยาบรรณย่อมทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ ดังนั้น พนักงานจึงควรมีจรรยาบรรณต่อผู้ประกอบธุรกิจดังนี้
1.มีความซื่อสัตย์สุจริตมีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียรและมีวินัย มีความรับผิดชอบและรักษาทรัพย์สินของกิจการ ด้วยการใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดูแลรักษาไม่ให้สูญหายและไม่นำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว
2.ประพฤติและปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม ไม่ปฏิบัติตนให้มีผลกระทบต่อนายจ้าง
3.ไม่ประพฤติและปฏิบัติสิ่งที่ขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง ด้วยการกระทำตนเป็นคู่แข่งขันในเชิงธุรกิจการรับผลประโยชน์และเกี่ยวข้องทางการเงินกับคู่แข่งขันของนายจ้าง ซึ่งมีผลทำให้เกิดความได้เปรียบและเสียเปรียบในเชิงธุรกิจกับคู่แข่งขัน
4.ไม่ทำงานให้บุคคลอื่น ต้องมีความจงรักภักดีเต็มใจทำงานให้นายจ้างอย่างเต็มความสามารถ ยกเว้นได้รับการอนุญาตจากนายจ้างก่อนซึ่งต้องไม่เป็นอุปสรรคต่องานประจำ
5. สร้างงานแก่คนในสังคม ให้มีรายได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น
ด้านสิทธิมนุษยชน
การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นความรับผิดชอบสำคัญของบริษัท และยังมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของเรา มีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ให้เป็นที่รับรู้ทั่วทั้งองค์กร ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของเราในการมองเห็นและจัดการกับปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าของเรา กระบวนการด้านแรงงานสัมพันธ์ ดำเนินการตามกฎหมายและมาตรฐานสากลที่สำคัญ อาทิ หลักการด้านมนุษยธรรมและสิทธิขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (Principles of the United Nations Global Compact – UNGC)
ลำดับความสำคัญ
เราตระหนักดีถึงความรับผิดชอบโดยตรงต่อผลกระทบอันเกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจ ที่มีต่อพนักงาน คู่ค้า และลูกค้าของเรา เราจึงมุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชนภายใต้การดำเนินงานของเราผ่านนโยบายและกระบวนการต่างๆ นอกจากนี้ นโยบายของเรายังกำหนดให้มีการนำประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมาพิจารณาในขั้นตอนการจัดซื้อจัดหา คือ จรรยาบรรณของพนักงาน ของคู่ค้า เป็นต้น เราวางแนวทางในด้านสิทธิมนุษยชนและกระบวนการที่นำมาใช้ในการสอบทานธุรกิจและบรรเทาผลกระทบ โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้
ลูกค้า
ให้ความรู้ และ แจ้งแก่ลูกค้า ด้านการต่อต้าน การค้ามนุษย์ หรือการหาประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย หรือที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคมและหลักปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของแต่ละอุตสาหกรรม
พนักงาน
เราบรรจุ การปกป้องสิทธิมนุษยชน ในจรรยาบรรณพนักงาน ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและเคารพสิทธิมนุษยชน โดยจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังได้สร้างความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องให้แก่พนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานจะสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังได้จัดหาช่องทางในการรับข้อมูลและคำร้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขต่อไป เราให้ความเท่าเทียมในด้านเพศ อายุ การศึกษา และสัญชาติ เรามี นโยบายปฏิบัติกับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ตลอดจนมีแนวทางป้องกันและมาตรการต่อต้านการล่วงละเมิดที่มีสาเหตุจากเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เพศ อายุ สัญชาติ สิทธิความเป็นพลเมือง วิถีทางเพศ หรือความพิการ
คู่ค้า
การค้าที่เป็นธรรม สิทธิมนุษยชน และปัญหาแรงงาน ปัจจัยเหล่านี้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้า ทั้งยังได้มีการระบุถึงปัจจัยดังกล่าวในสัญญาที่เกี่ยวข้องด้วย เรามีความคาดหวังที่ชัดเจนต่อคู่ค้าของเราในการจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนด้านอื่นๆ ที่ระบุไว้ในจรรยาบรรณคู่ค้า
ด้านการปฏิบัติต่อแรงงาน
นโยบายด้านการปฏิบัติต่อแรงงาน บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม อันเป็นปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของกิจการและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ ดังนี้
- เคารพสิทธิของพนักงานตามหลักสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
- จัดให้มีกระบวนการจ้างงาน และเงื่อนไขการจ้างงานเป็นธรรม รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทน และการพิจารณาผลงานความดีความชอบภายใต้กระบวนการประเมินผลการทำงานที่เป็นธรรม
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร โดยจัดให้มีการจัดอบรม สัมนา ฝึกอบรม รวมถึงส่งบุคลากรเข้าร่วมสัมมนา และฝึกอบรมวิชาการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถศักยภาพของบุคลากร รวมถึงปลูกฝังทัศนคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และการทำงานเป็นทีมแก่บุคลากร
- จัดให้มีสวัสดิการด้านต่างๆ สำหรับพนักงานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสังคม เป็นต้น และนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น รวมถึงการให้เงินช่วยเหลือประเภทต่างๆ แก่พนักงาน เช่น ทุนการศึกษาแก่บุตร และเงินช่วยฌาปนกิจ เป็นต้น
- จัดให้มีบริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่บุคลากรทุกระดับชั้นของบริษัทฯ โดยพิจารณาจากปัจจัยความเสี่ยงตามระดับ อายุ เพศ และสภาพแวดล้อมในการทำงานของแต่ละบุคคล
- ดำเนินการให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีสุขอนามัยในสถานที่ทำงานที่ดี โดยจัดให้มีมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และเสริมสร้างให้พนักงานมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย รวมถึงจัดการฝึกอบรม และส่งเสริมให้พนักงานมีสุขอนามัยที่ดี และดูแลสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัยอยู่เสมอ
- เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็น หรือร้องเรียนเกี่ยวกับปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องในบริษัทฯ รวมถึงให้การคุ้มครองพนักงานที่รายงานเรื่องดังกล่าว