“Doi Num Sub” The Heritage of Thai folk wisdom. A Simple Thing is Definitely Perfect
The Doi Num Sub Project started off as a one woman’s vision of improved life style for the hill communities of Thailand. When the hill farmers were finally weaned away from growing poppy to feed the heroin trade, they had to struggle with the highly competitive market of their extremely perishable cold-weather fruit and vegetable crops.
“Miss Dusadee”, had observed in her community development work in the north how the hill communities grew a proliferation of herbs for their own culinary and medicinal uses. Her own mother had a wealth of herbal lore that “Miss Dusadee” found encouraging. It started her organising a few villages experimentally into a herbal cooperatives. While in Bangkok, she formed the Oriental Herbs Co., Ltd. to design and market the subsequent products.
Now, 1,600 acres of land dotted around Chiang Rai and nearby provinces are perfuming the northern air with a large variety of herbs grown with exact science and definite purpose, then processed hygienically into marketable products, both for domestic consumption and for export.
Doi means mountain, Num, water and Sub, absorption. There is no mountain of that name in Thailand. The project’s name is in fact its vision: as ground water gathers into brooks which grow into rivers which keep the land fertile, so will herbs, nature’s own bounty, grow into a mainstream business that will bring prosperity and happiness to all who are involved.
“ดอยน้ำซับ” มรดกทางภูมิปัญญา ในการดูแลสุขภาพด้วย ความรู้จากบรรพบุรุษไทย“สิ่งที่เป็นธรรมชาติและความเรียนง่าย คือสิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด”
โครงการดอยน้ำซับเริ่มต้นจากวิสัยทัศน์ของผู้หญิงคนหนึ่งในการปรับปรุงรูปแบบชีวิตของชุมชนชาวเขาในประเทศไทย เมื่อชาวไร่ชาวเขาเลิกปลูกงาดำเพื่อเลี้ยงการค้าเฮโรอีน ในที่สุดพวกเขาต้องต่อสู้กับตลาดที่มีการแข่งขันสูง สำหรับพืชผลและผักที่เน่าเสียง่ายในสภาพอากาศหนาวเย็น ปัจจุบัน พื้นที่กว่า 1,600 เอเคอร์ทั่วเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียงกำลังทำให้อากาศทางตอนเหนือมีกลิ่นหอมด้วยสมุนไพรหลากหลายชนิด ที่ปลูกด้วยวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนและวัตถุประสงค์ที่แน่นอน จากนั้นแปรรูปอย่างถูกสุขลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในท้องตลาด ทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก
ดอย แปลว่า ภูเขา น้ำ ซับ ซึม ไม่มีภูเขาชื่อนี้ในประเทศไทย ชื่อโครงการแท้จริงแล้วคือวิสัยทัศน์ เมื่อน้ำใต้ดินรวมตัวกันเป็นลำธารซึ่งเติบโตเป็นแม่น้ำซึ่งหล่อเลี้ยงผืนดินให้อุดมสมบูรณ์ สมุนไพรซึ่งเป็นของดีจากธรรมชาติก็จะเติบโตเป็นธุรกิจกระแสหลักที่จะนำความเจริญรุ่งเรืองและความสุขมาสู่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของโครงการดอยน้ำซับ ปลายปี พ.ศ. 2539 คณะทำงานกองทุนเพื่อสังคม (Social Investment Fund) หรือ SIF ในนามของสมาคมพัฒนาสังคม ของสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (Nationnal Institute administration = NIDA) ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ของสมาชิก สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท (สพช) ธนาคารออมสิน โดยมีพื้นที่ เป้าหมาย ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อสำรวจความอ่อนแอของชุมชนและได้เห็นจุดอ่อนต่างๆ ของหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน จึงได้ตั้งโครงการ “ดอยน้ำซับ” ขึ้น เพื่อเป็นส่วนเสริมข้ออ่อนในชนบท ให้เข้มแข็งขึ้น โดยการนำสิ่งที่มีอยู่แล้ว ในชนบทมาใช้ประโยชน์กันที่อยู่ในวงจำกัด ออกเผยแพร่สู่สังคมเมือง เริ่มจากการนำเอาความรู้ดั้งเดิมเหล่านี้มาพัฒนา โดยอาศัยหลักวิชาการ และปรับกระบวนการผลิตให้เข้ากับยุคสมัย ทั้งยังต้องสนองความต้องการในปริมาณที่มาก เพื่อการส่งเป็นสินค้าส่งออกได้ภายใต้ชื่อ “ผลิตภัณฑ์ดอยน้ำซับ” โดยเน้นการช่วยตนเอง เลิกพึ่งพิง จากภายนอก และไม่ได้ใช้กำไร หรือยอดขายเป็นตัวตั้ง แต่ใช้การช่วยเหลือ พึ่งพากัน เป็นตัวตั้ง เพือให้โครงการดำเนินต่อไปได้ อย่างต่อเนื่อง และยังยืนก่อน
ดอยน้ำซับจึงหมายถึงการนำเอาสมุนไพรจากธรรมชาติมาใช้อย่างถูกวิธีและยั่งยืนเหมือนน้ำซึมซับจากพื้นดิน และไหลมารวมกันทีละเล็กทีละน้อย เป็นธารน้ำที่ใหญ่ขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกพืชทางด้านสมุนไพร ให้เกิดเครือข่ายมากที่สุด ที่กรุงเทพฯสินค้าของโครงการเริ่มจาก ลูกประคบสมุนไพร เป็นสินค้าตัวแรกที่ผลิตขึ้น ผู้ริเริ่มต้องการให้ชาวบ้านได้ปลูกและขายสมุนไพรให้ได้มากที่สุด เนื่องจากลูกประคบมีส่วนผสมของสมุนไพรหลากหลายเป็นจำนวนมาก จึงสนับสนุนให้ปลูก สินค้าต่อมาคือ สมุนไพรอบตัว สำหรับบุคคลทั่วไป และใช้สำหรับหลังการคลอดบุตร นอกจากสมุนไพรที่เป็นสินค้าที่ชื่นชอบแล้ว ยังมีกระโจมอบสมุนไพรซึ่งทำจากผ้าทอของชาวบ้าน เป็นแบบที่ใช้ในวิถีชีวิตของคนไทย โดยทั่วไปที่ใช้งานกันอยู่แล้ว ปัจจุบันสินค้าของดอยน้ำซับ ได้พัฒนาให้มีหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ในปัจจุบัน
ลำดับการพัฒนา ดอยน้ำซับได้รับการช่วยเหลือจาก กรมส่งเสริมการส่งออก แนะนำให้จดทะเบียนเป็นรูปบริษัท เพื่อให้ เกิดความเชื่อถือกับต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อ โดย จดทะเบียน เมือปี พ.ศ.2544 หลังจากมีการส่งออกสินค้าด้านสมุนไพร ไปประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เมื่อ ปี พ.ศ. 2543 และได้รับสมัคร บริษัท ดอยน้ำซับจำกัด เป็นสมาชิก ในปี 2548 ได้รับเครื่องหมาย Thailand Brand’s Name เมื่อ 2549 * ในปี 2546 มีการจัดตั้งโครงการOTOP ขึ้น ทาง อบต. แม่ฟ้าหลวง ขอให้สมัคร เป็นสมาชิก OTOP และได้รับการคัดสรร ให้เป็น Product Champion * ได้รับ รางวัล PM Award 2005 (พ.ศ. 2548) * ได้รับรางวัล ผลิตภัณฑ์ชุมชน และ บุคคลเกียรติยศ 2008 (พ.ศ. 2551) * ได้รับรางวัล PM Award 2015 อีกครั้ง (พ.ศ.2558) * ได้รับการคัดเลือก จากสถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น ถ่ายทอด การดูแลสุขภาพสตรีหลังการคลอด ด้วยการใช้ลูกประคบไทย เพื่อออกในรายการ สถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น ใน ปี พ.ศ.2548 * ได้รับการคัดเลือก ให้นำเสนอ เรื่องลูกประคบไทย เพื่อเผยแพร่ ในสายการบิน JAPAN AIRLINE ตลอดปี 2551 โดยไม่คิดมูลค่า ใดๆ ในทุกเที่ยวบินจาก TOKYO สู่ กรุงเทพมหานคร
* ในปี พ.ศ.2548 ก่อตั้งโรงเรียนสอนการนวดไทยและการประคบสมุนไพลดอยน้ำซับ ภายใต้การรับรองหลักสูตรจาก กระทรวง ศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภูมิปัญญาไทยสู่สังคมเมือง และสู่สากล * ในปี พ.ศ.2559 ได้รับการรับรองหลักสูตร การนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง และการดูแลสุขภาพสตรีหลังเรือนไฟ 150 ชั่วโมง จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ตามพรบ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 * ในปีพ.ศ.2560 ได้รับการคัดสรร เป็นผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร ประเภทอาหารตามโครงการ Bangkok Brand * ในปีพ.ศ. 2563 ได้รับการคัดสรร เป็นผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร ประเภทของใช้ตามโครงการ Bangkok Brand * ในปี พ.ศ. 2564 ได้รับการคัดเลือก รางวัลผลิตภัณฑ์สปาสมุนไพรดีเด่นระดับชาติ PMHA นับจากนี้ จะมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยงข้องกับการผลิตยาสมุนไพรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ผลิตลูกประคบสมุนไพร ต้องขอขึ้นทะเบียน เป็นยาสมุนไพรไทย โดยโรงงานผู้ผลิตจะต้องได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ผลิตยาสมุนไพรไทยที่ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) หรือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต คือ ระบบคุณภาพที่ใช้สร้างและควบคุมกระบวนการจัดการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการผลิต บุคลากรและผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนการเก็บรักษา
เนื่องจากลูกประคบสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ใช้กันแพร่หลายในระดับสากล การยกระดับลูกประคบสมุนไพรให้เข้าสู่กระบวนการที่ได้รับการดูแลและควบคุมจึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยสู่ระดับสามกล บริษัทหมอนพพรในฐานะผู้ผลิตยาที่ดำเนินการผลิต ภายใต้กฎหมายที่เข้มงวดจนได้รับมารตฐานในระดับ GMP และที่สำคัญโรงงานยาของบริษัทหมอนพพร ยังได้ใช้วัตถุดิบจากกลุ่มสมุนไพรดอยน้ำซับ อ.แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาสมุนไพรไทย ให้สอดรับกับมารตการของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์ สมุนไพรไทยให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น อันเป็นการเชื่อมต่อกับกลุ่มผู้ปลูก และแปรรูปที่เป็นคนในกลุ่มต้นน้ำ ที่สำคัญในการผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ให้กับดอยน้ำซับมาตลอดเวลากว่า 20 ปี นับเป็นการสร้างรายได้ และสร้างงานในระดับรากหญ้าตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เลิกพึ่งพาจากภายนอก ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง เป็นธุรกิจชุมชนต้นแบบของการพัฒนาอย่างแท้จริง